-
ปีพุทธศักราช 2549 ได้มีการสำรวจพื้นที่และขอใช้พื้นที่และออกเอกสารสิทธิ์กับธนารักษ์พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
-
ปีพุทธศักราช 2553 กระทรวงสาธารณสุข สอบถามความพร้อมพื้นที่ก่อสร้าง นายอำเภอ สมภพ ว่องวัฒนกิจ ได้ตอบยืนยัน จัดหาที่ดินจำนวน 33 ไร่เศษ ติดที่ว่าการอำเภอพยุห์
เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้าง
-
ปีพุทธศักราช 2554 กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติการก่อสร้าง ตึกผู้ป่วยนอกขนาด 10 เตียง
งบประมาณ 11,637,000 บาท งบประมาณนี้ไม่ได้รวมถึงการปรับพื้นที่เพื่อการก่อสร้างถมที่ดินจำนวน 3 ไร่เศษที่ระดับความลึก 2.40 เมตร และระบบไฟฟ้า ต้องหางบประมาณขั้นต่ำ 1.2 ล้านบาท
-
เดือน ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2554 จังหวัดศรีสะเกษ นายอำเภอสมภพ ว่องวัฒนกิจ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ปรึกษาหารือ จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลพยุห์ ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการทุกภาคส่วน ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น (กำนันผู้ใหญ่บ้าน) พี่น้องประชาชนอำเภอพยุห์ จัดทำผ้าป่าสามัคคี ทอดถวายในวันที่ 9 มกราคม 2555 ณ หอประชุมอำเภอพยุห์ ยอดเงิน 1.97 ล้านบาทเศษ ใช้จ่ายถมที่ประมาณ 800,000 บาท ระบบไฟฟ้าประมาณ 300,000 บาท ที่เหลือเป็นเงินกองทุนจัดหาเครื่องมือแพทย์
-
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2555 วางศิลาฤกษ์ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพยุห์เป็นทางการ (ถือเป็นวันเกิดของรพ.พยุห์) ได้รับเกียรติจาก อาจารย์นายแพทย์ ประวิ อ่ำพันธ์ นพ.สสจ.ศรีสะเกษ มาเป็นประธาน พร้อมด้วยทุกภาคส่วนทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และพื้นที่
การก่อสร้างใช้เวลาประมาณ 1 ปี 3 เดือน
-
วันที่ 1 ตุลาคม ปีพุทธศักราช 2556 นายแพทย์สุรชัย คำภักดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีรัตนะ
ได้รับแต่งตั้งเป็นรักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลพยุห์พร้อมกับคณะเจ้าหน้าที่ย้ายจาก รพ.ศรีรัตนะมาจัดทีมและเปิดให้บริการโรงพยาบาลพยุห์ตั้งแต่นั้นมา
-
โรงพยาบาลพยุห์ก่อตั้งมาได้ด้วยกำลังจากทีมเครือข่ายสุขภาพ คปสอ.พยุห์ นำทีมโดย
นายสิทธวีร์ ทางามพรทวีวัฒน์ สาธารณสุขอำเภอ ประธาน คปสอ. นายแพทย์สุรชัย คำภักดี
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพยุห์ รองประธาน และคณะทำงานทุกคน
-
โรงพยาบาลพยุห์ ขอกราบขอบพระคุณท่านนายอำเภอ สมภพ ว่องวัฒนกิจ หัวหน้าส่วนราชการ
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารท้องที่ พี่น้องชุมชนชาวตลาดเทศบาลพยุห์ พี่น้องชาวอำเภอพยุห์
ผู้มีอุปการคุณทุกท่านด้วยความรัก ความจริงใจ
โครงสร้างองค์กร

นโยบาย
1)พัฒนามาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (HA)
2) พัฒนาระบบประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)
3)พัฒนางานตามเกณฑ์ชี้วัดด้านสาธารณสุข(Ranking)
4)พัฒนาระบบควบคุมภายในงานบริหาร การเงิน การคลัง พัสดุ การจัดเก็บรายได้
5)พัฒนาระบบจัดการคุณภาพและความปลอดภัยในโรงพยาบาล
6)พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาล (RM)